ค้นหาบล็อกนี้

เรื่องต้องรู้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาการแบบไหนเรียก “รุนแรง-ไม่รุนแรง”

เรื่องต้องรู้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาการแบบไหนเรียก “รุนแรง-ไม่รุนแรง”
พบบุคลากรทางการแพทย์รายแรก มีอาการข้างเคียงรุนแรงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
แตกข้อบ่งชี้ ลักษณะอาการรุนแรง-ไม่รุนแรง แบบไหนต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
สธ. สร้างความเชื่อมั่น ต้องปลอดภัย ยึด 8 ขั้นตอน เฝ้าระวัง 30 นาทีเป็นสำคัญ

ภายหลังประเทศไทยรับมอบวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค จากสาธารณรัฐประชาชนจีน 2 แสนโดสแรก เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนเสร็จสิ้น ก็เริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกนำโดย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อย่าง “อนุทิน ชาญวีรกูล” รวมถึงรัฐมนตรีส่วนหนึ่ง และบุคลากรทางการแพทย์ ที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่ 28 ก.พ. เป็นต้นมา ส่วนบุคคลสำคัญอย่างหัวหน้ารัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ยังไม่ถึงคิว เพราะเกินช่วงอายุที่กำหนดคือ 18-59 ปี จึงต้องรอวัคซีนแอสตราเซเนกาตรวจสอบรวมถึงขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องไปให้เรียบร้อยเสียก่อน
จนถึงขณะนี้มีข้อมูลว่า 3 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 7,262 ราย ในพื้นที่ 13 จังหวัด ตามแผนระยะแรก (ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น. วันที่ 2 มี.ค. 2564) ในจำนวนนี้มีอาการข้างเคียงไม่รุนแรง 19 ราย ซึ่งมีอาการคล้ายกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และผู้มีอาการรุนแรง 1 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์หญิง อายุ 28 ปี

พบอาการข้างเคียงรุนแรงรายแรก 
เรื่องนี้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจงรายละเอียดเพิ่มเติมถึงเคสนี้ว่า บุคลากรทางการแพทย์รายนี้หลังฉีดวัคซีน ในช่วงเฝ้าระวัง 30 นาทีแรก อาการปกติดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปราว 4-5 ชั่วโมง เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จึงมาที่โรงพยาบาล ตรวจพบว่าความดันโลหิตต่ำ และเคยมีประวัติแพ้ยา Penicillin (เพนิซิลลิน) มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งภายหลังให้การรักษาด้วยการฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline) อาการดีขึ้นและปลอดภัยแล้ว โดยรายนี้ถือว่ามีอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง
จนถึงขณะนี้มีข้อมูลว่า 3 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 7,262 ราย ในพื้นที่ 13 จังหวัด ตามแผนระยะแรก (ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น. วันที่ 2 มี.ค. 2564) ในจำนวนนี้มีอาการข้างเคียงไม่รุนแรง 19 ราย ซึ่งมีอาการคล้ายกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และผู้มีอาการรุนแรง 1 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์หญิง อายุ 28 ปี

พบอาการข้างเคียงรุนแรงรายแรก 
เรื่องนี้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจงรายละเอียดเพิ่มเติมถึงเคสนี้ว่า บุคลากรทางการแพทย์รายนี้หลังฉีดวัคซีน ในช่วงเฝ้าระวัง 30 นาทีแรก อาการปกติดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปราว 4-5 ชั่วโมง เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จึงมาที่โรงพยาบาล ตรวจพบว่าความดันโลหิตต่ำ และเคยมีประวัติแพ้ยา Penicillin (เพนิซิลลิน) มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งภายหลังให้การรักษาด้วยการฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline) อาการดีขึ้นและปลอดภัยแล้ว โดยรายนี้ถือว่ามีอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง30 นาทีแรกสำคัญ ต้องเฝ้าระวัง 
ตามระบบหากพบผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วมีอาการรุนแรง ต้องมีการรวบรวมข้อมูล ประวัติ และการตรวจต่างๆ มาให้คณะกรรมการพิจารณา ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งมีการเรียกประชุมอย่างเร่งด่วน คาดว่าผลการประชุมจะออกมาในสัปดาห์นี้ เพราะฉะนั้น 8 ขั้นตอนจึงมีความสำคัญ สถานพยาบาลต่างๆ ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการเฝ้าระวังอาการหลังฉีดวัคซีนแล้ว 30 นาที เพราะหากมีอาการแพ้อย่างรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดอาการภายใน 15 นาที ขณะอาการที่เกิดขึ้นหลัง 30 นาทีไปแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และจะมีเวลาในการรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว ให้รายงานอาการต่างๆ ผ่านทาง Line Official Account “หมอพร้อม” แต่หากมีอาการผิดปกติในวันแรก ให้แจ้งที่หมายเลข “1669” เพื่อให้รถพยาบาลไปรับมายังสถานพยาบาลตามระบบที่วางไว้ ให้เกิดความมั่นใจปลอดภัยยิ่งขึ้น

อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง

มีไข้ต่ำ, ปวดศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน
อ่อนเพลีย
ปวดบริเวณที่ฉีด
อาการข้างเคียงรุนแรง (รีบแจ้งแพทย์เร็วที่สุด)

ไข้สูง
แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
ปวดศีรษะรุนแรง
ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีจุดเลือดออกจำนวนมาก
ผื่นขึ้นทั้งตัว
อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
ชัก/หมดสติ
แนวทางการเฝ้าระวังอาการแพ้วัคซีน ภาวะ anaphylaxis (อาการแพ้รุนแรง)

1. อาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันของระบบผิวหนัง/เยื่อบุ หรือทั้งสองอย่าง (มีลมพิษขึ้นทั่วตัว คัน ผื่นแดง มีอาการบวมของปาก สิ้น เพดานอ่อน) ร่วมกับอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการดังต่อไปนี้

1.1 อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เสียงแหบ หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงฮื้อ-เสียงหวีด การทำงานของหลอดลมหรือปอดลดลง ระดับออกชิเจนในหลอดเลือดลดลง
1.2 ความดันโลหิตลดลง/การทำงานของระบบต่างๆ ล้มเหลว เช่น hypotonia (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) เป็นลม อุจจาระ ปัสสาวะราด

2. มีอาการมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ข้อต่อไปนี้ ในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีน

2.1 มีอาการทางระบบผิวหนังหรือเยื่อบุ เช่น ผื่นลมพิษทั่วตัว คัน ผื่นแดง มีอาการบวมของปากลิ้น และเพดานอ่อน
2.2 มีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เสียงแหบ หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงฮื้อ -เสียงหวีด ระดับออกชิเจนในเลือดลดลง
2.3 ความดันโลหิตลดลง/การทำงานของระบบต่างๆ ล้มเหลว เช่น hypotonia (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) เป็นลม อุจจาระ ปัสสาวะราด
2.4 มีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

3. ความดันโลหิตลดลงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีน

3.1 ความดัน systolic ที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 ของความดัน systolic เดิม
หลังฉีดวัคซีนพักแขนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
“แม้ว่าเราจะมีผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่ดูเหมือนจะรุนแรง แต่ก็สามารถดูแลรักษาได้อย่างดี และอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนก็เป็นสิ่งที่เราคาดไว้แล้วว่าจะเกิด เนื่องจากฉีดวัคซีนให้คนจำนวนมาก แต่ก็มีมาตรการในการควบคุมป้องกันที่ดี เน้นย้ำว่ามีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ต้องดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัด สิ่งที่ต้องเตือนเพิ่มเติมคือ แขนข้างที่ฉีดวัคซีนไปอย่าเพิ่งขยับมากนัก อย่ายกของหนัก ต้องพักไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก็จะทำให้ความปลอดภัยมีมากยิ่งขึ้น”

แต่ละวัคซีนจะต้องมีผลข้างเคียง และเนื่องจากครั้งนี้เป็นวัคซีนใหม่ อธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำว่ายังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 ระยะแรก ก็เหมือนการทดสอบระบบ และยังไม่ได้เปิดระบบให้ประชาชนทั่วไปจองวัคซีน เพราะระยะแรกนั้นจะฉีดในกลุ่มเสี่ยงตามแผนก่อน คาดว่าใน มี.ค.นี้ ที่ไทยจะได้รับวัคซีนโควิด-19 มากขึ้น ระบบการจองวัคซีนก็จะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อถึงเวลานั้นจะมีการแจ้งต่อประชาชนให้ทราบต่อไป
ในห้วงเวลานี้ แม้ไทยจะได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วบางส่วน แต่หลายคนเมื่อได้ยินได้ฟังข่าวว่ามีผู้ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงรุนแรง อาจจะเกิดความกังวลใจ ซึ่งแพทย์สาธารณสุขก็ต่างให้ความเชื่อมั่นในการดูแลผู้รับวัคซีนและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และต้องอย่าลืมว่าใครที่ได้รับวัคซีนในเข็มแรกไปแล้ว ยังต้องฉีดอีกครั้งในเข็มที่ 2 ด้วย ส่วนการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรมต่างๆ ก็เกิดขึ้นแล้วเกือบทั้งประเทศ ในขณะที่เจ้าไวรัสโควิดตัวร้ายนั้นยังอยู่ เราจึงต้องไม่ลืมที่ปฏิบัติตามมาตรการที่เข้มงวดต่อไป ทั้งสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่างทางสังคม รอวันที่เราจะปลอดโควิด-19 หรือเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ตามที่รัฐบาลและสาธารณสุขได้วางแผนไว้ เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ รวมถึงสิ่งต่างๆ ของประเทศจะได้ฟื้นคืนเสียที


ผู้เขียน : กิณรีสีอังกาบ
กราฟิก : Varanya Phae-araya



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น